
คนไข้ 30 บาท เสี่ยงตายมากกว่าคนไข้ข้าราชการ!

ข้อมูลการใช้จ่ายของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขออกมาแล้ว โดยจากตารางข้างล่างจะทำให้เรามองเห็นได้ในหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น เรามีการแบ่งระดับของโรงพยาบาลกันอย่างไร และแต่ละระดับมีจำนวนเท่าไหร่ และมียอดของการจัดซื้อยาภายใต้บัญชียาหลักแห่งชาติเป็นร้อยละเท่าไหร่
สังเกตว่า กลุ่มโรงพยาบาลชุมชนทั้งใหญ่ทั้งเล็ก ใช้ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเกินร้อยละ 90 ในขณะที่โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็กขึ้นไปจนถึงโรงพยาบาลศูนย์จัดซื้อยาภายใต้บัญชียาหลักแห่งชาติประมาณร้อยละ 70
จากตารางด้านบน ทำให้หลายคนได้เห็นว่า ในเชิงบริหารและการใช้งบประมาณ ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้แบ่งกลุ่มย่อยให้กับโรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน ออกตามขนาดอีกด้วย และนักการตลาดยาต้องทำความเข้าใจเรื่องนี้ เพราะโรงพยาบาลคือ P ตัวที่ 3 ซึ่งหมายถึง Place หรือ Channel สำหรับการกระจายยา ทั้งยังเป็นจุดนัดพบกับแพทย์ผู้ใช้ยาเพื่อการให้ข้อมูลการใช้ยาที่ถูกต้องอีกด้วย
ในกระทรวงสาธารณสุข นอกจากจะมีโรงพยาบาลในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นโรงพยาบาลที่กระจายตามโครงสร้างของจังหวัดแล้ว ยังมีโรงพยาบาลที่สังกัดกรมอื่น ยกตัวอย่างเช่น กรมสุขภาพจิตมีโรงพยาบาลศรีธัญญา โรงพยาบาลจิตเวชและศูนย์สุขภาพจิตตามจังหวัดต่างๆ
กรมอนามัยจะมีหน่วยงานเกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ
กรมควบคุมโรคมีโรงพยาบาลอย่างสถาบันบำราษนราดูร สำนักโรคเอดส์ สำนักวัณโรค
กรมการแพทย์จะมีโรงพยาบาลในสังกัดอีกจำนวนมากมาย (ซึ่งบางครั้งก็ดูจะซ้ำซ้อนกับโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดฯ) เช่น กลุ่มโรงพยาบาลจะมีโรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี (มีนบุรี) โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ โรงพยาบาลเลิดสิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลโรคเฉพาะทาง (โรงพยาบาลสงฆ์, โรงพยาบาลทันตกรรม, สถาบันประสาท, สถาบันโรคผิวหนัง,สถาบันโรคทรวงอก) กลุ่มสถาบันเฉพาะด้านมะเร็ง , กลุ่มสถาบันด้านยาเสพติด ดูโครงสร้างของกรมการแพทย์ตามภาพด้านล่าง
วกกลับมาใหม่
การที่นักการตลาดยาเข้าใจโครงสร้างโรงพยาบาล จะทำให้สามารถวางแผนกิจกรรมการสื่อสารให้กับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
การแบ่งระดับโรงพยาบาลมีการจัดระดับ ดังนี้
1.โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับต้น First – level Hospital
โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (F3) หมายถึง โรงพยาบาลชุมชนขนาดเตียง 30 เตียง
โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (F2) หมายถึง โรงพยาบาลชุมชนขนาดเตียง 30 – 90
โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (F1) หมายถึง โรงพยาบาลชุมชนขนาดเตียง 90 – 120 เตียง
2.โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับกลาง (Middle – level Hospital)
โรงพยาบาลแม่ข่าย M2 หมายถึง โรงพยาบาลชุมชนขนาด 120 เตียง
โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก M1 เป็นโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อน
3. โรงพยาบาลรับส่งต่อระดับสูง
โรงพยาบาลทั่วไป (Standard – level Hospital) (S) เป็นโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญเฉพาะ
โรงพยาบาลศูนย์ Advance – level Hospital (A) เป็นโรงพยาบาลที่มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่ต้องการการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนระดับเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีขั้นสูงและมีราคาแพง (Advance & sophisticate technology)
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องยังไม่ลืมนะครับว่า หน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขเป็นเพียงส่วนหนึ่งของระบบสุขภาพเท่านั้น ยังมีหน่วยงานในสังกัดอื่นๆอีก ยกตัวอย่างเช่น กระทรวงศึกษาธิการ (โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช, รามา, รพ.สงขลานครินทร์) กระทรวงกลาโหม (โรงพยาบาลพระมงกุฎ, รพ.ทหารต่างๆ) และโรงพยาบาลเอกชนที่มีอีกกว่า 329 แห่ง (2557)
ทรัพยากรสาธารณสุขของไทย (ข้อมูลปี 2556)
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : http://phdb.moph.go.th/hssd1/
เครื่องมือแพทย์ ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการรักษาเฉกเช่นเดียวกันยา ที่ผ่านมาเราอาจรู้จักกับตลาดยาผ่าน IMS Market research ซึ่งก็ได้มีการออกมาให้ข้อมูลตลาดให้เห็นกันบ้าง แต่ตลาดเครื่องมือแพทย์นั้นจะหาบริษัทวิจัยตลาดออกมาให้ข้อมูลนั้นยากเหลือเกิน
เหตุผลที่รวมตัวเลขยาก เพราะเครื่องมือแพทย์มีความหลากหลายที่มากกว่ายานัก เครื่องมือแพทย์มีการจำแนกตามหมวดหมู่ได้ดังนี้คือ (แบ่งตาม the NAIC Code Grouping of the U.S. Department of Commerce)
Diagnostic reagents
อุปกรณ์อิเล็คทรอนิคบรรเทาปวดของโอมรอน
เครื่อง MRI (ที่หลายๆ คนเรียกว่าอุโมง)
เครื่อง x-ray ในปัจจุบันมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
เครื่องดมยา
Orthopedic device
เก้าอี้ทำฟัน
Contact lens
อุปกรณ์จัดฟัน
ยังไม่พบข้อมูลที่มีการเผยแพร่ถึงขนาดของตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยอย่างชัดเจน แต่คาดประมาณว่า ขนาดตลาดของเครื่องมือแพทย์ที่มีการใช้ในประเทศไทยน่าจะตกอยู่ที่ 100,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งดูจะไม่ห่างจากขนาดของตลาดยาที่มีขนาดอยู่ที่ 140,000 ล้านบาทต่อปี แต่ดูเหมือนว่า ตลาดยาจะโตด้วยอัตราที่ต่ำติดต่อกันมาหลายปีเพราะมีการแทนที่ยาต้นแบบ (Original) ด้วยยาชื่อสามัญ (Generic) ในขณะที่เครื่องมือแพทย์นั้นอาจมีความยากในการกำหนดสเปค เนื่องจากเครื่องมือแพทย์แต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่ต่างกันไป ทำให้ยากที่จะกำหนดราคามาตรฐานและอาจยากในการทำให้เกิดการแทนที่กันอย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ดี The Lewin Group (www.lewin.com) ได้คาดประมาณยอดขายของตลาดเครื่องมือแพทย์ในอเมริกาไว้ว่าอยู่ที่ $135.9 billion ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีขนาดของตลาดโดยประมาณเรียงลำดับดังนี้
• Surgical appliance and supplies manufacturing: $35.3 billion
• Surgical and medical instrument manufacturing: $33.6 billion
• Electromedical and electrotherapeutic apparatus manufacturing: $27.6 billion
• In vitro diagnostic substance manufacturing: $12.7 billion
• Irradiation apparatus manufacturing: $11.6 billion
• Ophthalmic goods manufacturing: $ 5.8 billion
• Dental equipment and supplies manufacturing: $ 4.7 billion
• Dental laboratories: $ 4.7 billion
ตัวเลขข้างต้น อาจใช้พออนุมาณขนาดความใหญ่ตลาดของผลิตภัณฑ์แต่ละกลุ่มโดยประมาณในไทยได้เช่นเดียวกันตามสัดส่วน
จะเห็นว่าอุปกรณ์ผ่าตัดและเครื่องมือในห้องผ่าตัดนั้นมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นอันดับต้นๆ รองลงมาคือเครื่องตรวจวินิจฉัย
เรียงลำดับขนาดของผู้เล่นในตลาดตามขนาดของยอดขาย (sources: S&P Capital IQ and Modern Healthcare, February 2013): บางบริษัทก็มีการผสมรวมกันทั้งสินค้ากลุ่มเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ที่ใช้ทางการแพทย์และกลุ่มยารักษาโรค บางบริษัทแบ่งกลุ่มธุรกิจตามกลุ่มสินค้า แต่ก็มีบางบริษัทเหมือนกันที่แบ่งตามภูมิภาคขาย
• Medtronic: $16.32 billion
Cardiac and vascular group: $8.533 billion (52;3%);
restorative therapies group: $7.785 billion (47.7%)
• Stryker Corp.: $ 8.66 billion
Reconstructive: $3.82 billion (44.2%);
medsurg: $3.26 billion (37.7%);
neurotechnology and spine: $1.57 billion (18.1%)
• Baxter International: $ 7.95 billion
Medical products (100%)
• Boston Scientific Corp.: $ 7.25 billion
Interventional cardiology: $2.18 billion (30.1%);
cardiac rhythm management: $1.91 billion (26.3%);
endoscopy: $1.25 billion (17.3%);
peripheral interventions: $774.0 million (10.7%);
urology/women’s health: $500.0 million (6.9%);
neuromodulation: $367.0 million (5.1%);
electrophysiology: $147.0 million (2%);
divested businesses: $122.0 million (1.7%)
• Becton, Dickinson and Co.: $ 6.63 billion
Medical: $4.09 billion (61.7%);
diagnostics: $2.54 billion (38.3%)
• St. Jude Medical: $ 5.54 billion
Cardiac rhythm management/neuromodulation: $3.33 billion (60.1%); Cardiovascular/atrial fibrillation: $2.21 billion (39.8%)
• Zimmer Holdings: $ 4.46 billion
Design, development, manufacture and marketing of orthopaedic reconstructive, spinal and trauma devices, biologics, dental implants and related surgical products (100%)
• CareFusion Corp.: $ 3.61 billion
Medical systems: $2.32 billion (64.3%);
procedural solutions: $1.28 billion (35.7%)
• C.R. Bard: $ 2.96 billion
Manufacture and sale of medical devices (100%)
• Varian Medical Systems: $ 2.86 billion
Oncology systems: $2.23 billion (77.8%);
X-ray products: $512.9 million (17.9%);
other: $121.5 million (4.2%)
• Intuitive Surgical: $ 2.18 billion
Advanced surgical system (100%)
• Hologic: $ 2.00 billion
Breast health: $875.8 million (43.7%);
diagnostics: $718.1 million (35.9%);
GYN surgical: $313.1 million (15.6%);
skeletal health: $95.7 million (4.8%)
• Edwards Lifesciences Corp.: $ 1.82 billion
Advanced cardiovascular disease treatment products (100%)
• Hill-Rom Holdings: $ 1.68 billion
North America: $980.5 million (58.3%);
international: $520.9 million (31%);
surgical and respiratory care: $180.2 million (10.7%)
• Invacare Corp.: $ 1.63 billion
North America/home medical equipment: $814.7 million (50.1%);
Europe; $551.4 million (33.8%);
institutional products group; $154.8 million (9.5%);
Asia/Pacific: $106.6 million (6.6%)
• Teleflex: $ 1.57 billion
Design, manufacture and distribute medical devices (100%)
• ResMed: $ 1.44 billion
Sleep-disordered breathing (100%)
• Steris Corp.: $ 1.27 billion
Healthcare: $1.03 billion (81.6%);
life sciences: $229.9 million (18.2%);
other: $3.2 million (0.2%)
• Sirona Dental Systems: $ 989 million
Imaging systems: $343.5 million (34.7%);
dental CAD/CAM systems: $334.5 million
treatment centers: $97.2 million (19.9%);
instruments: $114.3 million (11.6%)
• ConMed Corp.: $ 751 million
Linvatec, endosurgery and electrosurgery: $635.2 million (84.5%);
patientcare; $63.9 million (8.5%);
endoscopic technologies: $52.4 million (7%)
กลุ่มนี้ก็ไม่เล็กนะ กลุ่มบริษัทที่ขายน้ำยาตรวจวินิจฉัย จากข้อมูล The Freedonia Group [www.freedoniagroup.com] มีบริษัทระดับบิ๊กๆ ตามข้างล่างนี้เลย
• Abbott Laboratories • Bayer AG • Beckman Coulter (Lumigen) • Becton, Dickinson and Company (BD GeneOhm, Cytopeia, TriPath) • Bio-Rad Laboratories • bioMerieux SA • Celera Corporation • Danaher Corporation (Leica Biosystems) • Gen-Probe Incorporated • Hologic Incorporated (Cytyc, Third Wave) • Inverness Medical Innovations (Biosite, Cholestech, First Check, Redwood Toxicology, Swiss Precision) • Johnson & Johnson (LifeScan, Ortho-Clinical Diagnostics, Veridex) • Life Technologies (Applied Biosystems, Invitrogen) • Meridian Bioscience • Olympus Corporation • QIAGEN NV (Digene) • Quidel Corporation • Roche Holding (454 Life Sciences, BioVeris, NimbleGen, Ventana) • Siemens AG (Dade Behring, Oncogene Science) • Sysmex Corporation • Thermo Fisher Scientific • Trinity Biotech
เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่อนาคต หรือ New Engine of Growth โดยแผนดังกล่าว ระบุให้จากนี้ไป ประเทศไทยจะมี 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต จำนวน 10 คลัสเตอร์ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดเพื่อจัดทำนโยบายส่งเสริมการลงทุนต่อไป โดยจะประกอบไปด้วย
1) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
4) การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5) อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
6) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics)
7) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
8) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
9) อุตสาหกรรมดิจิตอล (Digital)
10) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
อันที่ 10 นี่แหละ ที่เครื่องมือแพทย์จะได้อานิสงค์ ซึ่งทางผู้ประกอบการก็หวังไว้มากว่าจะมีทิศทางที่น่าจะมากไปกว่าเรื่องภาษี ซึ่งเรื่องที่ดูจะหนักหน่วงมากที่สุดในอุตสาหกรรมนี้คือ เรื่องของข้อกฎหมายและข้อจำกัดในเรื่องค่าใช้จ่ายภาครัฐ
โดยธรรมชาติของการวิจัย เครื่องมือแพทย์หลายชนิดใช้เวลาวิจัยและขออนุมัติได้ในระยะเวลาที่น้อยกว่ายารักษาโรค ทำให้โอกาสในการวิจัยและผลิตเพื่อทำตลาดสามารถเป็นไปได้เร็วกว่า ซึ่งนักวิจัยในไทยจำนวนไม่น้อยก็มีงานวิจัยกลุ่มนี้อยู่ในมืออยู่แล้ว
นอกจากนั้น ด้วยความที่นวัตกรรมเครื่องมือแพทย์นั้นเดินทางเร็วไม่น้อย จึงทำให้เกิดช่องว่างของตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็เป็นอีกโอกาสของผู้นำเข้าที่จะหาตัวสินค้าที่ทำให้เกิดผลการรักษาที่ดีขึ้น ด้วยต้นทุนที่มีความคุ้มค่ามากกว่าเข้ามาได้
*ภาพประกอบจาก www.biomed.net.nz
การช๊อปปิ้งออนไลน์หาผู้ให้บริการทางสุขภาพ
(SHOPPING ONLINE FOR HEALTHCARE PROVIDERS)
จากข้อมูลสำรวจของ Center for Health System Change (www.hschange.com) คนอเมริกัน 11% มองหาหมอทั่วไปใหม่ทุกปี , 28% ต้องการหาหมอเฉพาะทางคนใหม่, และ 16% ไปใช้บริการกับที่ให้บริการทางสุขภาพใหม่
จาก Pew Internet & American Life Project (www.pewinternet.org) เค้าสำรวจว่า เวลามีปัญหาสุขภาพ คนจะหาข้อมูลจากไหน ข้างล่างนี้คือผลการสำรวจ
• Doctor or other health professional: 86%
• Friend or family member: 68%
• Internet: 57%
• Books or printed reference material: 54%
• Insurance provider: 33%
• Other: 5%
PHYSICIAN SERVICES ONLINE
บริการแพทย์ให้คำปรึกษาออนไลน์
งานวิจัยในอเมริกา พบว่า คนไข้ถึง 55% ต้องการสื่อสารกับแพทย์เจ้าของไข้ผ่านทาง e-mail เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสอบถาม 68% สนใจการให้คำปรึกษาทางไกลผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิค
Smiling doctor working on computer with headphones
ด้วยเหตุประการข้างต้น ทาง AMA (American Medical Association) จึงได้ออก code เพื่อการเบิกค่าให้คำปรึกษาของหมอกับระบบหลักประกันสุขภาพ ทำให้หมอและคนไข้เจอกันง่ายขึ้น ทั้งระบบประกันก็พร้อมจะจ่ายเรื่องนี้ให้กับหมออีกด้วย
การให้บริการแบบนี้ เริ่มเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นมาตั้งแต่ปี 2009 โดยการริเริ่มครั้งแรกมาจาก Hawaii Medical Service Association (www.hmsa.com) ซึ่งได้ license จาก Blue Cross-Blue Shield จัดทำระบบให้คำปรึกษากับแพทย์ทางไกลขึ้น โดยสมาชิกที่อยู่ในระบบ (ตอนเริ่มมี 700,000 คน) จะจ่าย 10 ดอลล่า(300 บาท) ต่อครั้ง ส่วนคนไข้ที่ไม่ได้อยู่ในระบบจะจ่าย 45 ดอลล่า (1350 บาท) ต่อครั้ง
คนไข้ที่จะมาใช้บริการ online ได้ มีข้อแม้ว่าการรักษาในครั้งก่อนหน้านี้ได้เคยไปพบกับแพทย์ด้วยตนเองมาก่อนแล้ว
ข้างล่างนี้คือ ผลสำรวจข้อดีจากการที่หมอสื่อสารกับคนไข้ผ่าน e-mail
• Saves me time because I don’t have to see the doctor: 59%
• There is less time waiting for an appointment: 56%
• I don’t have to go to a waiting room with other ill people: 51%
• It is quicker than a regular consultation so the doctor has
more time to see patients: 50%
• It would be cheaper: 50%
• I would have a written set of instructions from the doctor
that I could refer to: 49%
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจที่ต่อยอดจากโครงการนี้ คือ “Online second-opinion services” หรือ การบริการให้ความเห็นที่สองในการวินิจฉัย โดยคิดค่าบริการ 500 -1,500 ดอลล่า ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าจำเป็นจะต้องใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกี่ท่านในการช่วยให้ความเห็น โดยโรงพยาบาลดังๆ หลายแห่งรับบริการนี้ เช่น Cleveland Clinic และ Johns Hopkins ทั้งสองที่รับเคส second opinion กว่าพันเคสต่อปีทีเดียว
ธุรกิจ Second opinion นี่ใหญ่ไม่เบานะครับ Partners Online Specialty
Consultations (POSC, www.econsults.partners.org) เปิดให้บริการในปี 2001 ซึ่งแค่ปีแรกก็หาคนไข้ได้ถึง 10,000 คนเลยทีเดียว
จริงๆ ประเทศไทย เราก็มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเยอะนะครับ เพียงแต่ไม่แน่ใจว่าเวลาหมอๆ ของเราจะเหลือพอที่จะเข้ามาให้คำปรึกษาออนไลน์แบบนี้ได้อีกรึเปล่านะ (เห็นหลายคนบ่นว่าแค่หาเวลานอนก็ยากละ)
#doctoronline
#Secondopinion
#onlineconsulting
Ref: THE 2013-2014 HEALTHCARE BUSINESS MARKET RESEARCH HANDBOOK
ผมขอนำบทความเขียนโดยพี่มนู สว่างแจ้ง อดีตผู้จัดการใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด มานำเสนอนะครับ เรื่องนี้สำคัญมากต่อคนในวงการยา ผมขอให้ชื่อว่า “ทักษะและความรู้ที่จำะเป็นสำหรับนักการตลาดยาในปี 2559”
ในวงการบริษัทยาข้ามชาติ คนที่ทำงานในตำแหน่ง Product Manager หรือ Marketing Manager จะเป็นคนที่มีโอกาสได้เป็นใหญ่เป็นโตมีสูง เพราะถือว่าเป็นคนที่ต้องมีภาษาอังกฤษดี ทั้งเขียน และ พูด ตำแหน่งนี้มีโอกาสได้ติดต่อกับ Regional หรือ สำนักงานใหญ่ เป็นประจำตลอดเวลา ทำให้เป็นที่รู้จัก และคุ้นเคย เวลามีการสมัครงานตำแหน่งสำคัญๆ ก็มีโอกาสสูงที่จะได้รับเลือก ส่วนทีมขายส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยดี จึงเลือกจะไปอยู่ทีมขาย แต่ถ้าทีมขายเป็นคนที่พูดภาษาอังกฤษได้ดี และมีความคิดเปิด รับสิ่งใหม่ๆ หรือ มั่นศึกษา paper เรื่องยา หรือเรื่องงานวิจัยทางด้านการบริหารใหม่ๆ ก็จะเป็นคนที่มี Potential ทันที เพราะโดยNature ของงานต้องแก้ปัญหาเรื่อง คน และ ลูกค้าเป็นประจำ ข่าวสารข้อมูลแม่น ยำขบวนการตัดสินใจ จึง Sharp กว่า ตำแหน่ง Marketing
แต่อย่างไร ทีม Marketing ถือว่าเป็น เสนาธิการ ของบริษัท เพราะขบวนการที่จะออกยาใหม่ การเปิดตัวสินค้าใหม่ การวางแผนระยะยาว ของสินค้า ก็ต้องให้ Marketing ทำ เพราะฉะนั้น พวกนี้ถือเป็น Know how ที่สำคัญ ถ้าเป็น คนที่ใจเย็น มนุษยสัมพันธ์ดีเด่น สามารถคุยกับทีมขายได้ Smooth แบบปราณีประนอม มุ่งไปที่เป้าหมายในการ ส่งเสริมการขายให้ ยอดขายถึงเป้าหมายเป็นหลัก ก็จะเป็นคนที่มีอนาคต เพราะเวลาไปประชุมเมืองนอก Credit ก็ได้กับ Marketing คนเดียว อยู่แล้ว คนสำนักงานใหญ่กล่าวชื่นชม ก็ชมแต่ทีม Marketing ไม่เคยพูดถึง ทีม Sales เพราะฉะนั้น คนMarketing ที่ฉลาด จะต้อง Balance ให้ดี
ตัวหลักที่จะทำให้ Sales กับ Marketing ทำงานไปด้วยกันในทิศทางเดียวกัน ก็คือ BU(Business Unit) Director หรือ ผู้จัดการใหญ่ เพราะฉะนั้น การตลาดค้าขาย ก็เหมือนอยู่ในสนามรบ เหมือนในตำราของทหารบก ผมจะเปรียบ Marketing Team เหมือน ทหารปืนใหญ่ “King แห่งสนามรบ “และ Sales Team เปรียบเหมือน ทหารราบ “Queen แห่งสนามรบ” เพราะสองหน่วยนี้เวลา บุกข้าศึก จะต้องทำงานด้วยกัน ทหารราบต้องบอกพิกัดให้ถูกเพื่อให้ทหารปืนใหญ่ยิงปืนใหญ่เปิดทางให้ทหารราบจะได้เข้าไปยึดพื้นที่ข้าศึกได้สำเร็จ ถ้าทหารราบบอกพิกัดผิด ทหารปืนใหญ่ก็ยิงมาลงตำแหน่งที่ทหารราบอยู่ก็ตายกันหมด เวลาผมไปประชุมที่ NY ก็จะเดินซื้อหนังสือ แนวนี้มาอ่าน ก็ได้แนวคิดในการ Balance สองทีมนี้ แต่สุดท้ายตำราที่ดีที่สุดคือ หนังสือ รด เล่ม 1-2 เข้าใจง่ายที่สุด ผมนำมาจัดหน่วยส่งกำลังบำรุง ส่งเสริม กำลังรบ มาApply ก็คือ ทีม Admin และ ทีม ทำเรื่อง Bidding ให้ทีมขาย ปัจจุบัน หลายบริษัทเพิ่งจะให้ความสำคัญ หลังจาก มี Ebidding ขึ้นมา แต่ทีมนี้ ถึงแม้ว่าบริษัทจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ก็ไม่กล้าปลดออก
สิ่งผิดพลาดของบริษัทยาข้ามชาติ ทั่วไปก็คือ ให้ ทีม Marketing ทำ Sales Forecast คนเดียว ไม่ให้ทีมSales ร่วมทำด้วย Marketing ซึ่งเขาไม่ได้เป็นคนขายเอง ก็จะฝันไปแนวทางGrowth อย่างเดียว ส่วน ถ้าให้ Sales ทำ Forecast คนเดียวก็จะออกมาในแนวทาง Conservative ชีวิตนี้มีแต่ปัญหา ขายไม่ได้ เพราะฉะนั้น BU Head หรือ ผู้จัดการใหญ่ ต้องเป็นคนกลางในการทำSales Forecastโดย ร่วมกับ Finance ในการใช้ข้อมูล เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนและ Stock inventory.ในกรณีที่ต้อง Convert ตัวเลข Thai Baht มาเป็น US Dollar ตรงนี้อย่างไรก็ต้องพึ่ง Finance ส่วนอัตราการ Growth ในแต่ละปีก็ต้องใช้ Reference ของ Ims หรือ PReMA มาประกอบ ทำให้เป็นตัวเลข forecast ออกมาเป็นแกนกลางเปรียบเทียบ ในการกำหนด Growth ที่ละ Product ของแต่ละฝ่าย ส่วนของ ทีมร้านขายยา ต้องให้ทำ Forecast แยกกับทีม รพ เพื่อความยุติธรรม มิฉะนั้น ทีม รพ จะโยนตัวเลขไปให้ร้านขายยา อย่างเดียว ถ้า Process เป็นอย่างนี้ก็จะได้ตัวเลขออกมาที่ค่อนข้าง Realistic ต่อจากนั้นจะปรับแต่งอย่างไรก็จะมีเหตุผล แต่ผู้จัดการใหญ่ส่วนใหญ่ที่โดนปลดออก เพราะไปใส่ตัวเลขตามความรู้สึกตัวเอง ไม่มี Evidence base เลย เวลาสำนักงานใหญ่ถามว่าตัวเลขมาอย่างไร ก็ตอบไม่ได้ ก็โบ้ยไปให้ BU Director ตอบ ส่วนใหญ่ BU Director ก็ไม่กล้าตอบ สุดท้ายก็จะเป็นแพะ พอไล่แพะออก ก็มาไล่กับผู้จัดการใหญ่แทน ตอบไม่ได้อีก ตอนนี้ก็ถึงคราวผู้จัดการใหญ่ กลับไปเลี้ยงลูกที่บ้าน
สำหรับทีม Marketing ที่กำลังทำงานอยู่บริษัทยาตอนนี้ ผมคิดว่าส่วนใหญ่รู้เรื่อง Healthcare System ไทย อย่างผิวเผิน เพราะผมสังเกตุ ทีม Regional ที่มาประชุมกับทีม Marketing ส่วนใหญ่ พอเริ่มประชุม Marketing Head ก็จะPresentation เรื่อง Thailand Healthcare Systemให้ฟัง เมื่อฝรั่งกลับไป ก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะข้อมูลแต่ละทีมที่นำเสนอไม่เหมือนกัน ตอนหลัง ผมต้องมอบหมายให้ Strategic plan Director เป็นคน ทำ Presentation คนเดียว ตอบคำถามไปแนวทางเดียว ทำให้Regional team เข้าใจดีขึ้น และง่ายต่อการต่อรองตัวเลขTarget ที่จะมาเอาจากเมืองไทย
ผมอยากจะแนะนำให้ทีม Marketing อ่าน White Paper ของบริษัทที่ปรึกษา Solidiance ที่เพิ่งเผยแพร่มาใน Website Slide 1 ชื่อเรื่อง ” The Future of Thailand’s Healthcare industry in Tier 2 Cities Outlook for 2015-2020″
ลอง Search จาก Google พิมพ์ชื่อ Article ที่ website เลือกที่ต่อท้ายด้วย Solidiance มีทั้งหมด 75หน้า ข้อมูลที่ทำเป็น Slide สวยมาก เวลาทำPresentation จะได้พูดให้ฝรั่งฟังเหมือนกัน เข้าใจง่าย ไม่ใช่ให้เขาไปนินทาลับหลังว่า คุณ ยกเมฆ หรือ มั่ว จะทำให้ความเชื่อถือหมดไป
Slide ที่ 2 ชื่อคน ทำ Research ทั้ง 2คนต้องให้Credit เขาหน่อย ถ้าบริษัทมีงบประมาณจะขอซื้อชุดงานวิจัยฉบับเต็มก็ได้
Slide ที่3 Content Slide 4 โครงสร้าง Universal Healthcare ,
Slide 5 Thailand Healthcare ,
Slide 6-9 Summary Healthcare & Trendในอนาคต,
Slide 10 Takeaways
ถึงทีมMarketing, White paper นี้มีประโยชน์มากในการวาง Strategy ในแต่ละ สินค้า และ Strategy ของบริษัทโดยรวม พยายามอ่านหลายๆรอบ จะมองเห็นอะไร ที่คุณยังไม่ได้คิดอีกมาก ส่วนทีม Sales อ่านให้เข้าใจว่า ทีม Marketing เขาคิดอะไร จะได้ทำงานไปด้วยกัน เพราะเข้าใจตรงกัน
link paper : http://www.solidiance.com/whitepaper/future-of-thailands-healthcare-industry-in-tier-2-cities.pdf
วันนี้ไปดูงานร้านยาชื่อร้านบางกอกฟาร์มาซี ตัวร้านอยู่แถวห้วยขวาง ร้านยาร้านนี้ ได้รับการดูแลโดยเจ้าของนักธุรกิจมือฉมัง ซึ่งต้องบอกว่าเค้าเป็นตัวจริงอย่างแน่นอนในวงการธุรกิจค้าปลีกทั้งยาและสินค้าที่เกี่ยวกับสุขภาพ
เจ้าของร้านนี้ชื่อ คุณกรุง ครับ ซึ่ง คุณกรุง เคยเข้ามานั่งเรียนในนาโน รุ่นที่ 2 อีกด้วย
เรื่องประวัติของคนกรุงเข้าคร่าวๆ ดังนี้ครับ
คุณกรุงจบปริญญากฎหมายจากต่างประเทศแล้วเข้ามาสืบทอดกิจการร้านยาของครอบครัว ซึ่งดำเนินกิจการมาแล้ว 30 ถึง 40 ปี จากเดิมที่ไม่เคยมีพื้นฐานการทำร้านขายยามาก่อนเลย ได้มีการลองผิดลองถูกทำธุรกิจมาหลายชิ้น มีเจ๊งก็หลายชิ้นมีเกือบเจ๊งก็หลายชิ้น แต่สุดท้ายก็สามารถเข้าใจแนวทางการทำธุรกิจของตัวเองจนสามารถเพิ่มรายได้ต่อวันของร้านยาได้ถึง 5 เท่าจากเดิมที่สมัยพ่อเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 7 ปี
ไฮไลท์ตอนแรกที่อยากจะไปดูร้านนี้ก็คือคุณกรุงมีเครื่องแพคยาที่เป็นลักษณะของยูนิตโดสซึ่งคิดว่าเป็นรายแรกแรกเลยที่ได้เอามาประยุกต์ใช้ในร้านขายยา แรกเริ่มเดิมทีที่อยากจะดูเครื่องนี้ก็คือ ผมได้เคยคุยกับพี่อุทัย เรื่องการใช้เครื่องยูนิตโดสสำหรับร้านยาจากตัวอย่าง Business Model ร้านยาในต่างประเทศ และเราพบว่าโรงพยาบาลในประเทศไทยบ้างโรงก็ได้ประยุกต์เครื่องนี้มาใช้แพคเม็ดยาให้กับคนไข้ ร้านขายยาเรายังไม่เคยเห็น นี่จึงเป็นที่มาของการที่พี่อยู่ไทยได้ช่วยนัดให้เราเข้าไปดูและได้พบคุณกรุงในวันนี้
พอพูดถึงเครื่องแพคเม็ดยา คุณกรุงก็โชว์เครื่องให้พวกเราได้ดูเลย ตัวเครื่องก็คล้ายๆเครื่องซีลถุงพลาสติกด้วยความร้อน โดยขั้นตอนหลักๆก็คือจะต้องไปซื้อซองใส่เม็ดยาที่น่าจะเป็นม้วนกระดาษยาวๆ เอามาคลุมเม็ดยาแล้วก็เอาเข้าเครื่องซีล คุณกรุงได้แนวคิดนี้มาตั้งแต่สมัยไปร้านขายยาที่เกาหลี เค้ามีการจัดยาตามมื้ออาหารให้กับคนไข้ซึ่งพบว่าอำนวยความสะดวกให้กับการทานยามาก เป็นการเพิ่ม adherent หรือทำให้คนไข้สามารถได้รับยาจนครบตามคำแนะนำของแพทย์-เภสัชกร
เครื่องที่คนกรุงซื้อมาในครั้งแรกราคาแค่ไม่ถึงหมื่น แน่นอนว่ามันช่วยอำนวยความสะดวกให้กับคนไข้ แต่พอเวลาผ่านไปขั้นตอนการแบ่งบรรจุยากลายเป็นการเพิ่มงานเพิ่มเวลาในการให้บริการของพนักงาน กลายเป็นว่าจ่ายยาให้กับคนไข้เป็นแผงกลับรวดเร็วและสะดวกกว่า ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องโยงไปกับประเด็นที่ว่าคุณค่าบางอย่างที่เราพยายามส่งมอบให้กับลูกค้า ลูกค้าได้เห็นถึงประโยชน์ หรือคุณค่าดังกล่าวหรือไม่ ถ้าไม่ ในที่สุดบริการที่เราทำให้เพิ่มนั้นก็ไม่สามารถเก็บเงินได้ ไม่สามารถเอามาเป็นส่วนประกอบทางธุรกิจได้
แล้วเรื่องของประเด็นทางกฎหมายในการแบ่งบรรจุยาก็เป็นอีกประเด็นนึง ที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วย เพราะดูเหมือนว่ากฎหมายที่บอกว่าการแบ่งบรรจุคือการผลิตยา ทำให้ร้านขายยาแบ่งบรรจุยาในลักษณะที่อาจทำให้ใครบางคนตีความว่าเป็นยาชุดซึ่งก็เป็นไปได้ แบบนี้ถูกนำไปร้องเรียนกับ อย.ได้ (แต่โรงพยาบาลทำได้นะเพราะโรงพยาบาลสามารถกำหนดให้เภสัชกรสามารถผลิตยาตามใบสั่งแพทย์ได้)
แต่จะว่าไปแล้วการให้บริการอยากเป็นยูนิตโดสกับคนไข้นั้นมีประโยชน์มาก ยกตัวอย่างเช่นกลุ่มคนไข้โรคสมองเสื่อมที่ต้องกินยากันวันละหลายมื้อ หลายเม็ด หรือแม้แต่โรคเรื้อรังทั้งหลาย ดังนั้นจะเห็นว่ามันมี need เรื่องนี้อยู่แน่ๆ เพียงแต่ข้อจำกัดของมันก็มีอยู่เช่นกัน
คุยกันไปมากับพี่อุทัยและคุณกรุง กลับทำให้เราต่อยอดกันไปได้หลายเรื่อง ไล่มาตั้งแต่ การเดินสายทัวร์ของกลุ่มนาโนที่ไปเยี่ยมธุรกิจของคุณต้า ซึ่งเราพบว่า ด้วยการสร้างข้อมูลฐานลูกค้าของคุณต้า ทำให้เราสามารถติดตามการใช้ยาของลูกค้าประจำได้ ซึ่งนำไปสู่การใช้คอลเซ็นเตอร์เพื่อที่จะดึงลูกค้ากลับมาซื้อยาต่อที่ร้านหรือแม้แต่เสนอขายสินค้ากลุ่มอื่นๆเช่นอาหารเสริม ซึ่งตรงนี้ผิ่นก็ได้เสริมว่าโดยลักษณะโครงสร้างธุรกิจแบบนี้เขาสามารถทำรายได้เป็นสิบล้าน จากฐานลูกค้าจำนวนเพียงแค่นิดเดียว
ด้วยลักษณะของการทำงานของเภสัชกรรุ่นใหม่ที่จะว่าไปแล้วก็ล้อไปตามผลประโยชน์ที่ร้านจะให้ ทำให้เจ้าของคาดหวังกับการจงรักภักดีในการอยู่กับร้านในระยะยาวนั้นเป็นไปได้ยาก ร้านไหนขายดีความหมายก็คือจะมีอินเซนถีบหรือผลตอบแทนให้กับเภสัชกรที่อยู่เฝ้าร้านได้ในอัตราที่สูง แต่ถ้าร้านไหนขายได้น้อยก็ยากที่จะดึงดูดเภสัชกรได้ผลตอบแทน ช่วงนี้นำมาสู่ข้อแนะนำว่าร้านยาควรจะทำระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อที่จะทำให้เกิดการส่งต่อกันได้ ทำให้การบริหารหน้าร้านเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง
คุณกรุงพาเราย้อนไปให้ฟังเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจร้านยาของที่บ้าน เดิมสมัยที่พ่อและแม่บริหารนั้นสัดส่วนของสินค้ากลุ่มยามีมากถึง 60% อีก 40% เป็นสินค้ากลุ่มสำหรับเพื่อผู้บริโภค แต่ในปัจจุบันสัดส่วนของสินค้ากลุ่มยาโดยปริมาณเหลือเพียงแค่ 20% ที่เหลือเป็นสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค แต่จะว่าไปแล้วกำไรสุทธิของร้านยาทั้งร้านมาจากกลุ่มยาถึง 60% (ซึ่งแสดงว่าสินค้ากลุ่มยายังทำกำไรได้สูงเมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภค) แต่การมีสินค้ากลุ่มอุปโภคบริโภคกลับกลายเป็นกลยุทธ์การสร้างความหลากหลายทางผลิตภัณฑ์ให้กับร้านซึ่งนำไปสู่การดึงให้ลูกค้าเข้ามาซื้อของภายในร้าน ซึ่งเมื่อมียอดจำนวนลูกค้าที่เดินเข้าร้านมากพอก็จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าซื้อเพิ่มในกลุ่มสินค้าที่ทำกำไรได้
เรื่องนี้ทำให้เราได้เข้าใจไปถึงวิธีการจัดทัพหรือการออกแบบกลุ่มสินค้าสำหรับร้านยาของคุณกรุง จะว่าไปนี่ก็คือ category management ที่ชาวเหล่านาโนได้เรียนไปแล้วนั่นแหละ เพียงแต่คุณกรุงได้เอามาประยุกต์ใช้และได้ทำให้เราเห็นได้ในเชิงปฏิบัติ
กลยุทธ์สร้างความหลากหลายทางผลิตภัณฑ์ (Product Variety) ได้กลายเป็นกลยุทธ์หลักในการใช้ดึงลูกค้าเข้าร้านของคนกรุง เจ้าคำว่าผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย ต้องขอยืนยันว่า มีความหลากหลายจริง คุณกรุงบอกว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของแกมีอยู่ถึง 16,000 ผลิตภัณฑ์ แต่มีการใช้จริงอยู่แล้ว 7 ถึง 8000 รายการ
และด้วยความหลากหลายนี่เองทำให้คุณกรุงคิดว่า ถ้าจะไปเปิดร้านยาใหม่ไม่ว่าที่ไหนก็ตามเขาจะต้องประสบความสำเร็จ เหตุเพราะเค้ามีสินค้าจำนวนที่มากพอที่น่าจะสามารถใช้จูงใจให้ลูกค้าเดินเข้าร้านได้ ซึ่งวิธีการนี้มีความแตกต่างจากวิธีการเปิดร้านยาใหม่ตามสูตรของร้านใหญ่ๆ แถวหน้าศิริราชซึ่งพบว่าไม่ประสบความสำเร็จในการขยายสาขาก็หลายร้าน เพราะมักจะใช้กลยุทธ์เดิมๆ เช่นการขายสินค้ากลุ่มพระเอกในราคาต่ำมากๆ ด้วยปริมาณจำนวนมาก กับพื้นที่ทำเลใหม่ของร้าน
คุณกรุงคิดว่าสินค้ากลุ่มความงามและยานั้นอยู่ในกลุ่มเดียวกัน และการมีสินค้ากลุ่มความงามในร้านยาจะเป็นการช่วยเสริมคุณค่า ยกระดับความน่าเชื่อถือให้กับสินค้ากลุ่มความงามที่เราเสริมเข้าไปนั่นเอง การที่เรื่องยาของเราอยู่ในตลาดทั่วไปควรที่จะมีสินค้าที่กว้างและครอบคลุม เป็นการขายสินค้าอย่างละน้อย แต่ด้วยความหลากหลายทำให้ร้านสามารถอยู่ได้ นอกจากนั้นในการขายสินค้าอย่างละน้อยทำให้ความเสี่ยงของร้านลดลงเพราะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสต๊อกสินค้าจำนวนมาก
คุณกรุงเคยทำตลาดอาหารเสริมและด้วยความที่มองเห็นแนวโน้มของตลาดว่าจะขายดีก็มีความพยายามในการหาแหล่งของอาหารเสริมราคาถูกจากต้นน้ำ จากนั้นก็นำไปสู่สินค้ากลุ่มอื่นๆเช่น ขนตาปลอม สินค้ากลุ่มเครื่องสำอาง
ปรัชญาข้อนึง ของคุณกรุงที่ให้ไว้กับพนักงานซึ่งผมชอบมากเลยก็คือ “เอ็งอย่าดึงเงินจากกระเป๋าของลูกค้าเกินสมควรเด็ดขาด” ความหมายก็คือต้องเลือกจ่ายยาที่ราคาสมเหตุสมผลให้กับลูกค้า เพราะถ้าจ่ายยาราคาสูงหรือใช้ยายี่ห้อที่ราคาแพงให้กับคนไข้อัตราส่วนกำไรเราก็ได้เท่ากันแต่การใช้ยาราคาแพงจะทำให้ลูกค้าหนี