สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงาน 2018 Blackmores Institute Symposium

ขอกล่าวถึงงาน Blackmore Institute Symposium 2018 งานจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2561 ซึ่งผมเองได้ไปร่วม กล่าวโดยสรุปตั้งแต่สองบรรทัดแรกได้ว่า “ทำได้ดีมากเลยหละครับ” ในส่วนงานวิชาการสำหรับเภสัชกร

ในส่วนของ evidence ของงานวิจัยที่กล่าวถึงในงานก็เรื่องหนึ่ง แต่ที่ผมสนใจมากๆ คือ รูปแบบการจัดงานครับ ผมว่าวิธีการสร้างกระบวนการ Educational Marketing นี่ น่าสนใจมาก สามารถเอามาใช้เป็น case study สำหรับงานประชุมวิชาการทางเภสัชกรรมอีกหลายๆ เรื่องได้เลย

เค้ามีการดำเนินการอย่างนี้ครับ

1. ทำคอร์สออนไลน์ โดยให้เภสัชกรเข้ามาเรียนคอร์ส อาหารเสริม วิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร ทั้งหมด 7 module และมีข้อสอบด้วย (เนื้อหาก็ OK นะครับ มากพอที่จะเอาไปใช้แนะนำคนไข้ได้ ข้อสอบก็ต้องใช้ความพยายามอยู่ครับ) โดยเข้าไปที่ https://www.blackmoresinstitute.org/ (เข้าไปเรียนออนไลน์ได้ฟรีนะครับ)

2. ให้เภสัชกรจำนวน 50 คน ที่ผ่านคอร์สออนไลน์เรียบร้อยแล้วทั้ง 7 แล้ว มาร่วม workshop (ซึ่งเป็น session แยกในงานประชุมใหญ่) เฉพาะเภสัชกรเท่านั้น จะมีการให้กรอบวิธีการ consult การให้คำปรึกษา โดยสอนกรอบก่อน แล้วทบทวนสมุนไพรบางชนิด จากนั้นมี case study ว่าคนไข้แบบนี้เภสัชกรจะช่วยแนะนำ option ต่างๆ อะไรให้กับคนไข้ได้บ้าง ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

3. จะมีการเพิ่มจำนวนเภสัชกรที่ได้ร่วม workshop ในลักษณะเดียวกันกับข้อ 2 อีก พร้อมทั้งสร้างเครื่องมือช่วยเภสัชกรทำงานในการอธิบายคนไข้ มี timeline เพื่อ promote และพัฒนาร้านยาที่เภสัชกรกลุ่มนี้จะให้คำแนะนำด้าน complementary medicine ได้ ซึ่งจะสามารถใช้เป็น key differentiation ให้กับร้านยาของตัวเองได้

4. ส่วนในงานประชุมใหญ่ (ซึ่งเภสัชกรข้างบน 50 คนได้เข้าเฉพาะช่วงเช้า) เค้าก็มีการพูดถึง evidence ของอาหารเสริมในภาพรวมไป (แยกเป็น สำหรับผู้สูงอายุ สำหรับสตรี สำหรับผิว ….)

IMG_20181009_120239.jpg

คือ ผมรู้สึกว่า มันเป็นความพยายามในการใช้ช่องทางทั้ง Online และ off-line ผนวกสร้างช่องทางการศึกษาต่อเนื่องเข้าด้วยกัน และเภสัชกรที่ได้เข้าร่วมก็รู้สึกว่า บริษัทได้พยายามให้กรอบแนวคิดที่จะทำให้เภสัชเค้าดูแลคนไข้ได้ดีขึ้นจริงๆ (รวมทั้งยังสามารถขายของได้มากขึ้นจริงๆ (แบบสมเหตุผล))

ความรู้สึกต่างไปเลยกับงานประชุมวิชาการเภสัชหลายๆ งาน ที่ยังรู้สึกว่า มันไม่ถึง … กลับออกจากห้องไปแล้ว เอาไปใช้ไม่ได้ครับ … แล้วก็รู้สึกว่าเค้าลงทุนไปกับ material ประกอบการเรียนรู้เยอะมากครับ … แค่ workbook ที่มี slide นี่ ลงทุน print สี ผมว่า อย่างต่ำเล่มนึงก็ 4-5 ร้อยแล้วหละ

เข้าไปลองอ่านส่วน workshop ของเค้าที่ผมจดมาดูได้นะครับ ตามนี้ https://mktpharma.wordpress.com/2018/10/09/bi-integrative-prescribing-masterclass-2018/

ข้างล่างนี่คือ material ที่เค้าแจกครับ อันแรกทำเป็นคล้ายๆ ปฏิทินตั้งโต๊ะ ด้านหน้าใช้อธิบายคนไข้ มีครบเกือบทุกอาหารเสริมเลย ด้านหลังเอาไว้ให้เภสัชกรแอบอ่านขณะคุยกับคนไข้ได้

หนังสือเอาไว้เช็ค drug/herb interaction พร้อมสอนวิธีการดูตาราง ใช้ตารางถึงความเข้มข้นของ evidence ก่อนที่จะให้คำแนะนำคนไข้

img_3825.jpg

รวมทั้งมี Framework การให้คำปรึกษาคนไข้ เอาจริงผมชอบอันนี้มาก …. ได้ทำ workshop แล้วชอบเลย

img_3827.jpg

 

ภาพตารางสองภาพข้างล่างนี้ เป็น framework ที่ทำคัญใน workshop ครับ ไล่เรียงขั้นตอนชัดเจนถึงการค้นหาปัญหาของคนไข้ แนวทางแก้ไขปัญหา/ให้คำปรึกษาทั้งในระยะสั้น ระยะยาว แก้แค่เพียงอาการตรงหน้า หรือ ช่วยปรับแก้ที่ต้นเหตุ  จากนั้นพัฒนาแผนดำเนินการว่าจะทำอะไรบ้าง สุดท้ายคือ แนวทางการสื่อสารกับคนไข้ เพื่อให้เข้าใจ และปรับพฤติกรรมตามเป้าหมายการรักษาได้ครับ (ซึ่งเภสัชกรจะใช้แผ่นภาพชิ้นล่างสุดในการเขียนสรุป)  ซึ่งอีกครั้ง ถ้าอยากลองเห็นภาพของ workshop เข้าไปที่ link นี้ได้เลยครับ https://mktpharma.wordpress.com/2018/10/09/bi-integrative-prescribing-masterclass-2018/ 

เอากรณีของ BI Symposium นี้เป็นกรณีศึกษาหนึ่งที่ดีนะครับ ซึ่งเมื่อเป้ามันออกมาว่า ต้องการทำให้ลูกค้าของบริษัททำงานง่ายขึ้น เก่งขึ้น และสร้างความแตกต่างได้มากขึ้น ผลของกิจกรรมจึงออกมาดี เรียกได้ว่าเป็น customer centric approach ที่น่าทำตามทีเดียว

เภสัชกรการตลาด

Leave a comment