เรียนรู้การใช้ LINE@ ตอนที่ 2 (สมัครพรีเมียมไอดี)

ตอนที่สองนี้จะมีความสำคัญถ้าเราๆ เห็นว่าการใช้พรีเมี่ยมไอดีนั้นมีประโยชน์  ซึ่งเค้าให้เหตุผลว่า มันจะเป็นชื่อ ID ที่เราเลือกพิมพ์ได้เอง ทำให้จำได้ง่าย บอกต่อง่าย  แต่สำคัญคือ จะต้องเสียเงินให้ LINE ปีละ 200 บาทเพื่อชื่อ ID นี้  ซึ่งถ้าเราไม่ยอมเสียเงิน ระบบเค้าก็จะ auto generate ID ให้เราอัตโนมัติเป็นตัวอักษรยึกยือที่เราจำไม่ได้หรอก (นี่คือ แผนทดลองให้คุณยอมเสียตังขั้นที่หนึ่งของ LINE … ถ้าเสียตังเป็นแล้ว ขั้นตอนเสียตังอื่นๆ ที่ตามมาก็คงจะไม่ยากแล้วหละ 555)  ใครที่ตัดสินใจยังไม่อยากเสียตังก่อน ก็ข้ามขั้นตอนของบทความนี้ไปก่อนก็ได้นะครับ Continue reading

การทำอินโฟกราฟิกเพื่องานเภสัชกรรม

infographic_design_process

ภาพตัวอย่าง กระบวนการออกแบบภาพอินโฟกราฟิก

อินโฟกราฟิก คือ การใช้รูปภาพเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Information + Graphic)  ช่วยเพิ่มความสนใจของผู้รับสาร จะทำได้ดีต้องมี 3 ทักษะประกอบกัน คือ 1)วิเคราะห์ 2) เรียบเรียง 3) ออกแบบ

#มีข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีของ infographic ที่น่าสนใจ ได้แก่

  • รูปภาพจะถูกผู้เล่นเฟซบุ๊ก (Facebook) กดถูกใจมากกว่าตัวอักษร
  • มีบางเว็บไซต์หลังจากนำเสนอสื่อในรูปแบบอินโฟกราฟิก ได้มีผู้ลงทะเบียนเว็บไซต์เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 12
  • มีข้อมูลที่อ้างถึงโรงเรียนสอนธุรกิจ Wharton ในสหรัฐอเมริกาที่แสดงให้เห็นว่าเมื่อมีการนำเสนอผลงาน ร้อยละ 67 ของผู้ฟังถูกชักจูงผ่านคำพูดร่วมกับการมองเมื่อเทียบกับการใช้คำพูดอย่างเดียวที่สามารถชักจูงได้เพียงร้อยละ 50
  • พบว่าการใช้รูปภาพทำให้ลดระยะเวลาในการประชุมได้ถึงร้อยละ 24
  • การใช้อินโฟกราฟิกทำให้บทความถูกอ่านมากกว่าการใช้ตัวอักษรเพียงอย่างเดียวถึง 30 เท่า
  • การใช้รูปภาพแทนข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตยังเพิ่ม ขึ้นเรื่อยมา อินโฟกราฟิกเพิ่ม ขึ้นตามหน้าเว็บไซต์ร้อยละ 12
  • การใช้ภาพที่มีสีสันสวยงามสามารถเพิ่มนักอ่านได้ถึงร้อยละ 80

#หลักการจัดทำสื่ออินโฟกราฟิก
ถ้าจะลองเริ่มทำ ก็ขอให้ลองทำตามขั้นตอน 1 2 3 ดังนี้

  1. วิเคราะห์ โดยนำบทความที่อยู่ในความสนใจ แยกแยะองค์ประกอบ โดยมีสถิติประกอบ
  2. เรียบเรียง โดยคิดชื่อเรื่องให้น่าสนใจ เลือกชุดข้อมูลที่เหมาะสมมานำแสดง
  3. ออกแบบ โดยทำให้เป็นรูปภาพที่ทุกคนเข้าใจได้ง่ายตั้งแต่แรกเห็น โดยทำเป็นสัญลักษณ์ภาพ (Pitogram) สัญรูป (Icon) อักษรภาพแสดงอารมณ์ (Emoji)

โดยมีข้อแนะนำว่า ให้ลองเริ่มออกแบบในกระดาษก่อนจนเห็นภาพภาพร่าง

#เครื่องมือในการจัดทำอินโฟกราฟิก

ได้แก่ Adobe Illustrator ที่เหมาะกับงานวาด สร้างลายเส้น , Adobe Photoshop เหมาะกับการแก้ไขตกแต่งรูปภาพ , เวปไซต์บริการสร้างอินโฟกราฟิกโดยเฉพาะ เช่น Piktochart (piktochart.com), Raw (app.raw.densitydesign.org), Infogr.am (https://infogr.am), Easel.ly (www.easel.ly)

#มีคนพูดเหมือนกันว่า “อินโฟกราฟิกตายแล้ว” 

ดูเหมือนว่าในยุคหนึ่ง ภาพอินโฟกราฟิกดูเหมือนจะเป็นแม่เหล็กดูด traffic ให้คนเข้าไปเยี่ยมชมเวปไซต์  เพจ ทวิตเตอร์  และเหมือนกับทุกคนจะทำเยอะพร้อมๆ กันหมด กลายเป็นสาเหตุให้ปริมาณของอินโฟกราฟิกเพิ่มขึ้นในขณะที่คุณภาพลดลง จึงมีข้อแนะนำต่อผู้ทำสื่อเพื่อการสื่อสารชนิดนี้ให้คิดอยู่เสมอว่า อินโฟกราฟิกคือ การแบ่งปันข้อมูล ผู้สร้างต้องไม่ขี้เกียจ คุณภาพของงานนั้นสำคัญ และควรทำให้คนอ่านได้รู้สึกว่ามีส่วนร่วมระหว่างทำความเข้าใจด้วย

เอกสารอ้างอิง : J.Chongpornchai et al. Inforgraphic and its applications in health and pharmacy, Thai Bull Pharm Sci 2016;11(2): 98-120

ตัวอย่างภาพอินโฟกราฟิก จากศิลปินผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการออกแบบภาพอินโฟกราฟิกสำหรับงานเภสัชกรรม